โครงงานนาเกลือ (การตกผลึก)

ผู้อำนวยการโรงเรียน อ. มาณวิกา สงวนวงศ์

ที่มาของโครงการ
จากการนำเสนอโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” มาดำเนินการภายในโรงเรียน ได้ส่งเสริมให้เด็กเกิดความสนใจในปรากฎการณ์ต่างๆ จากกระบวนการทดลองมากขึ้น โครงการนาเกลือ (การตกผลึก) เป็นโครงการที่ต่อยอดการเรียนรู้มาจากการทดลองเรื่อง ตัวทำละลาย ซึ่งสามารถเชื่อมโยงความรู้ให้เข้ากับประสบการณ์ที่พบเห็นในชีวิตประจำวันได้ เด็กได้เรียนรู้โครงงานจบลงด้วยความเข้าใจ และรู้จักรอคอยกับผลลัพธ์จากสมมุติฐานของตนที่ตั้งขึ้นมา

การทดลอง การเกิดผลึกเกลือของน้ำทะเล

กิจกรรมการทดลอง

  1. ครูนำน้ำทะเลจริงมาบรรจุใส่ขวด และสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันถึงรสชาติของน้ำทะเล
  2. ครูนำน้ำทะเลเทใส่ในถาดแบน นำไปตากในที่มีแดดส่องถึง
  3. ให้เด็กๆ ร่วมกันคาดคะเนว่า น้ำทะเลเมื่อถูกแดดแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
  4. เด็กๆ สังเกตผลการทดลองทุกวัน / บันทึกผล
สื่อ / อุปกรณ์
  • น้ำทะเล
  • ถาด

สรุปผลการทดลอง
หลังจากที่นำน้ำทะเลไปตากแดด ผ่านไปเป็นเวลาประมาณ 4 – 5 วัน น้ำทะเลระเหยแห้งไปเกิดผลึกเกลือเป็นเม็ดเล็กๆ เกาะติดกับถาด

การทดลอง การตกผลึกเกลือของสารต่างๆ

กิจกรรมการทดลอง

  1. ครูนำสารในการทดลอง 4 อย่าง คือ น้ำเกลือ น้ำเชื่อม น้ำแกว่งสารส้ม น้ำส้มสายชู มาให้เด็กๆดู และตั้งสมมุติฐานว่า สารใดสามารถเกิดผลึกได้อีก นอกจากเกลือ
  2. นำสารทั้ง 4 อย่างใส่ในแก้ว ใช้เชือกพันไม้ แล้วหย่อนลงไปในแก้วทั้ง 4 ใบ
  3. เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น และคาดคะเนคำตอบ
  4. สังเกตผลการทดลองในแต่ละวัน

สื่ออุปกรณ์

  • น้ำเกลือ
  • น้ำเชื่อม
  • น้ำแกว่งสารส้ม
  • น้ำส้มสายชู

สรุปผลการทดลอง

หลังจากการทดลองผ่านไป 4 – 5 วัน จะสังเกตเห็นสารที่สามารถตกผลึกได้ดีเรียงตามลำดับคือ

  1. น้ำแกว่งสารส้ม
  2. น้ำเกลือ
  3. น้ำเชื่อม
  4. น้ำส้มสายชู (ไม่ตกผลึก)
    • น้ำเชื่อมตกผลึกเป็นแผ่นบางๆ เกาะติดเชือก หลุดง่าย
    • น้ำแกว่งสารส้มจับตัวกันแน่นได้ดีและสวยงาม